วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

:+: LAST :+: ~る・だ → ~ます・です → ~る・だ

สวัสดียามดึกกก ดูท่าว่าไม่ดึกจะไม่อัพ 55555
ครั้งนี้น่าจะเป็นเอนทรี่สุดท้ายของวิชานี้แล้ว
เลยขออัพสิ่งที่สงสัยส่วนตัวละกัน

เรื่องมีอยู่ว่า...
ช่วงหลัง ๆ ตอนคุยกับเพื่อนญี่ปุ่นที่ปกติก็ใช้รูปธรรมดาแล้ว
จู่ ๆ บางประโยคเพื่อนก็เปลี่ยนเป็นรูป ます เฉยเลย
...ทำไม...
ถ้าไม่สนิทระดับนี้จะทำใจให้ไม่งงได้บ้าง 55555

จนไปถามปู่เกิ้ลมา แล้วเจองานวิจัยอันนึง

เค้าเก็บข้อมูลการใช้เปลี่ยนมาใช้รูปสุภาพได้ 7 กรณี

***ประโยคก่อนหน้าประโยคตัวอย่าง先輩จะใช้รูปปกติ***

1. เวลาอธิบาย
➤เมื่อประโยคก่อนหน้าเป็นรูปธรรมดาหมด ประโยคที่ถูกเปลี่ยนเป็น ます หรือสุภาพอื่น ๆ ขึ้นมาจะมีความโดดเด่นและได้รับความสนใจ
เช่น
อธิบาย เหตุการณ์เวลาทำงานพิเศษ
先輩 : いらっしゃいませやっててたまに変な人が来るんですよね。


2. เวลาตอบกลับหลังจากถูกถามซ้ำหรือถามเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
➤เพราะทำให้ความเป็นจริงที่ต้องการบอกดูมีความกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น
เช่น
後輩 : それって、XX研修のやつでしたっけ?
先輩 : うん XXの語学研修ですね。


3. เวลาต้องการให้อีกฝ่ายเห็นด้วย
การใช้ ~じゃないですか?กับวัยรุ่น ➤ สามารถสื่อถึงความอ่อนโยนและมีผลด้านการโน้มน้าวใจให้คล้อยตามได้
เช่น
先輩 : でもさなんか、夏水着ほしいじゃないですか?


4. เวลาคิดถึงใจฝ่ายตรงข้าม
➤ แสดงถึงความอ่อนโยน ต้องการปลอบโยน(?)ใจอีกฝ่าย
เช่น
先輩 : いいと思いますよ。


5. เวลาตอบเรื่องที่เป็นด้านลบ
➤ แสดงถึงความจริงจังต่อเรื่องที่พูดมากขึ้น
เช่น
เมื่อรุ่นพี่จะไม่ไปทำงานพิเศษแล้ว
後輩 : 必死ですか?
先輩 : 必死す。

6. เวลาเอ็นดูหรือเห็นอกเห็นใจอีกฝ่าย
➤ แสดงความเห็นด้วยที่แฝงไปด้วยความเอ็นดูปลอบโยนอีกฝ่าย
เช่น
後輩 : 謝りに行きました。
先輩 : 偉いです
後輩 : ごめんなさいって。
先輩 : 偉いです


7. เวลาพูดซ้ำที่อีกฝ่ายพูด
➤ เวลาต้องการจะพูดซ้ำกับอีกฝ่าย ให้ซ้ำรูปเดียวกับที่อีกฝ่ายใช้เลย จะให้จังหวะดีกว่า
เช่น
先輩 : XXドラマにぜひね北条5代がなってほしいよね。
後輩 : 応援してます。
先輩 : 応援してます



สรุปแล้วเพื่อนนางน่าจะพูดด้วยความเอ็นดูล้วน ๆ 5555555
อาจจะเพราะเค้าเป็นพี่ด้วย เลยให้ฟีลแบบพูดกับเด็ก
และอีกกรณีนึงคือต้องการยืนยันให้ชัดเจน
สรุปว่าก็เคลียร์กับเรื่องนี้ในระดับนึงค่ะ

ไว้จะเอาไปใช้กับน้อง ๆ บ้าง อิอิ


สำหรับวิชานี้ก็ おつかれ นะคะ
>_________________<

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

:+: 16 :+: StoryTellerの成長

มายามดึกอีกแล้ววว 55555

วันนี้จะมาอัพเรื่อง Story telling ของตัวเอง
หลังจากได้ทำมาแล้ว 2 ครั้ง

ในส่วนของการเป็นผู้เล่านั้น....

เริ่มตั้งแต่ตอนต้น
ในครั้งแรกที่ทำ ขึ้นต้นด้วย 「この話は~」
แต่ครั้งที่ 2 มีการเกริ่นเรียกร้องความสนใจให้เพื่อนฟัง「ねー、きいてきいて」

การขึ้นต้นเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ...รู้สึกได้ว่า ถ้าขึ้นต้นเรื่องให้ テンションสูงไว้ก่อน เนื้อเรื่องหลังจากนั้น จะเล่าให้เหมือนเราสนุกกับมันจริง ๆ ได้ง่ายขึ้น และเพื่อนก็จะテンションสูงตามด้วย ทำให้การเล่าเรื่องครั้งที่ 2 ถึงแม้จะเล่ายากกว่าครั้งแรก แต่รู้สึกว่าเล่าแล้วสบาย(楽)กว่าครั้งแรกมาก

น้ำเสียง
ครั้งแรก ใช้น้ำเสียงเรียบ ๆ เหมือนพูดปกติ
ครั้งที่ 2 มีการใช้น้ำเสียงสูงต่ำ เน้นบางจุดมากขึ้น มีการใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ เช่น 「え!」

ชอบน้ำเสียงของครั้งหลังตรงที่รู้สึกว่าตัวเองก็อินไปกับเรื่อง เช่น ตอนที่ え!ก็เป็นเสียงตกใจจริง ๆ และตามที่พูดไปแล้ว พอตอนต้น テンション สูงแล้ว ระหว่างเล่าเรื่อง ถึงจะติดขัดเรื่องภาษาไปบ้าง แต่ テンション ก็ไม่ค่อยตก ยังอินและสนุกกับการเล่าไปได้จนจบเรื่อง

การเล่าช่วงไคลแมค
รู้สึกว่ายังเล่าได้ไม่ดึงดูดทั้งสองครั้ง ToT
แต่สำหรับครั้งที่ 2 สามารถดึงช่วงไคลแมคให้ยาวขึ้นกว่าครั้งแรกได้บ้างแล้ว

อันนี้ยากอ่ะ คงต้องไปหาว่าเวลาคนญี่ปุ่นเล่าเค้าเล่ายังไง อธิบายเหตุการณ์ยังไง คงต้องไปศึกษาหามาฟังแล้วลองเลียนแบบดู >w<;;

การใช้คำโต้ตอบเมื่อเพื่อนมีการตอบโต้กลับมา
ครั้งแรก ไม่ค่อยมีการฟอลโล่คำที่เพื่อนตอบมาเท่าไหร่
เช่น (その人が外国人?)そうだよね /ดูเป็นการตอบรับที่ไม่ค่อยสนใจเพื่อนเลย *นุขอโทษ ToT*
ครั้งที่ 2 สามารถตั้งสติและมีการตอบเพื่อนได้เป็นธรรมชาติมากขึ้น
เช่น(あ、家で?)うん、家で、


และในส่วนของการเป็นผู้ฟังนั้น

สิ่งที่สังเกตได้ชัดคือ มีการตั้งคำถามกับผู้เล่ามากขึ้น
ในครั้งแรก ส่วนใหญ่จะเป็นแค่การตอบรับ หรือแสดงความรู้สึก

แต่ครั้งที่ 2 มีการถามคำถามกลับไป สลับกับการตอบรับปกติ

*จริง ๆ นุก็ตั้งใจอยากจะถามให้เพื่อนเล่าเรื่องได้ง่ายขึ้น แต่บางทีพอถามไปแล้วก็กลับมาคิดว่ามันทำให้เพื่อนเล่าต่อได้ง่ายขึ้นจริง ๆ หรือว่าไปขัดเพื่อนตอนเล่า ToT*
ทำให้รู้เลยว่า การเป็นผู้ฟังและผู้followที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย และจังหวะกับการ判断ว่าจะพูดหรือไม่พูดแทรกตรงไหนและแทรกอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญ

________________________________________________________

หลังจากที่ได้สลับเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังทั้งสองครั้งแล้วสิ่งที่ได้เรียนรู้คือ...
1. การที่จะทำให้เรื่องที่เราเล่าดูน่าสนใจได้ เราต้องสนุกกับการเล่าและอินกับเรื่องด้วย เมื่อเราสนุกและอิน น้ำเสียงของเราก็จะไปตามเนื้อเรื่อง ทำให้เสียงไม่นิ่งเกินไป มีขึ้นลง น่าติดตามมากขึ้น
2. หลังจากที่เพื่อนตอบรับ ตอบโต้กลับมา ควรมีการตอบกลับก่อนเล่าต่อบ้าง จะทำให้รู้สึกว่าเราใส่ใจผู้ฟังอยู่เช่นกัน ไม่ใช่เล่าอยู่ฝ่ายเดียว
3. เวลาจะตอบโต้ผู้เล่าควรกะจังหวะให้ดี จะทำให้อีกฝ่ายเล่าเรื่องได้ไหลลื่นมากขึ้น และเราก็ได้รับรู้ข้อมูลมากขึ้นด้วย (ในกรณีที่ตั้งคำถามกลับไป)

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2561

:+: 15 :+: 発表お疲れ様でした

ในที่สุดงานของวิชา App Jap Ling ก็จบไปอีกงาน

นั้นก็คืองานพรีเซ้นต์ค่าาา >///<



รีพอร์ตการพรีเซ้นต์ในครั้งนี้นะคะ

สไลด์หน้าตาเป็นแบบนี้เลยยย







หลังจากที่แก้ไขกันไปหลายรอบ ก็ได้สไลด์ที่ตัวเองพอใจ
1. ตัวอักษรน้อย
2. มีสีสัน และใช้สีช่วยเน้นในจุดที่ต้องการ
3. การเรียงลำดับที่เข้าใจง่ายขึ้น

ทำให้เมื่อเวลาพรีเซ้นต์ นอกจากจะช่วยเป็นอุปกรณ์เสริมให้ผู้ฟัง สนใจสิ่งที่เรานำเสนอเพิ่มขึ้นแล้ว
ยังเป็นสิ่งที่เป็นคล้าย ๆ กับshort noteของเราตอนพูดด้วย
"ลืมว่าจะพูดอะไรต่อก็เหล่ดูสไลด์เอา" 55555555

เพราะฉะนั้นการเลือกคำลงไปในสไลด์จึงมีความสำคัญมากในระดับนึงเลยค่ะ


หลังจากที่สไลด์พร้อม ก็มาเขียนสคริปต์กัน
>o<
ในตอนแรกก็เขียนแบบ พยายามคิดหาลูกเล่นอะไรใส่เข้าไป
...เขียนบทพูดให้เหมือนเวลาอธิบายหรือเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง... เพื่อที่คำพูดจะได้ไม่แข็งเกินไป และน่าฟังมากขึ้น
และเพราะพรีเซ้นต์เป็นคู่
...เขียนบทถามตอบกัน... ตอนแรกตั้งใจจะให้เหมือนรายการโทรทัศน์ที่มีพิธีกรกับแขกรับ แต่ด้วยเวลาที่จำกัดทำให้ไม่สามารถโต้ตอบกันได้มากเท่าไหร่ จึงเป็นการถามคำถามและตอบคำตอบ ไม่ได้มีการโยนบทพูดไปมา

เมื่อได้กิมมิกของการพรีเซ้นต์คู่แล้ว ก็มาฝึกซ้อมกันค่ะ
เป็นการซ้อมคู่แบบไฟลนก้นมาก
เพราะมาซ้อมรวมกันตอนเช้าก่อนพรีเซ้นต์แล้วบ่ายก็พรีเซ้นต์เลย

ตอนซ้อมก็มีการจับเวลา
ครั้งแรก ๆ ยังไม่คล่องเท่าไหร่ ก็ได้ประมาณเวลาที่กำหนดพอดี
แต่!!!!! พอคล่องแล้วมันเร็วมาก จบเร็วมากค่ะ
จึงพยายามลดความเร็วลง และ...เลือกเน้นคำที่ต้องการ...เช่น คำที่เป็นภาษาไทย ให้ช้าลงและชัดขึ้น

และก็มาถึงตอนพรีเซ้นต์!!!!!
เอาตรง ๆ ก็จำไม่ค่อยได้เท่าไหร่ว่าพูดครบตามสคริปต์มั้ย
แต่เนื้อหาที่อยากจะสื่อก็พูดไปครบแล้ว ><
ตอนแรกแอบตื่นเต้นนิดหน่อย
แต่ต้องขอบคุณน้อง ๆ ที่มีส่วนร่วมกับการพรีเซ้นต์ ทำให้หายเกร็งหายตื่นเต้นไปเยอะเลย <3

โดยส่วนตัวแล้วค่อนข้างพอใจกับการพรีเซ้นต์ในครั้งนี้
แบบว่าออกมาดีกว่าที่คิด >w<




สิ่งที่ได้เรียนรู้
  1. ตอนพรีเซ้นต์ ต้องมีสติ!!! ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทั้งความผิดพลาดทางเทคนิคที่เกิดจากคนหรือคอมพิวเตอร์ ถ้าตั้งสติได้ ก็จะสามารถทำให้แก้ปัญหาและพรีเซ้นต์ต่อไปได้
  2. การมีอายคอนแทค ส่วนตัวตอนพรีเซ้นต์เอง นอกจากตอนที่ถามคำถาม รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้สบตากับใคร อาจจะเป็นเพราะจังหวะไม่ตรงกัน แต่ตอนที่เป็นผู้ฟัง แล้วน้อง ๆ พรีเซ้นต์ เมื่อมีอายคอนแทค จะรู้สึกว่าน้องกำลังคุยกับเรา ทำให้รู้สึกว่าต้องตั้งใจฟังต่อ
  3. การพูด แม้จะพูดติดขัดบ้าง แต่ถ้าใส่フィラーให้เป็นธรรมชาติ จะรู้สึกว่า "เห้ย นี่คือการพูดคุยกันปกติ" ไม่ได้รู้สึกว่าผู้พูด พูดไม่คล่อง หรือลืมบทเลย
  4. สไลด์ เป็นสิ่งที่ดึงดูดในอยากรู้เรื่องราวที่จะนำเสนอมากกว่าที่คิด สไลด์ที่มีรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ จะทำให้รู้สึกว่า "เค้าจะมานำเสนอในแนวไหน" ทำให้เกิดความสงสัย และอยากฟังต่อ และการสร้างตารางเปรียบเทียบในสไลด์ ช่วยให้เข้าใจและจดจำได้มากขึ้น
  5. การทำท่าทางบ้างให้เข้ากับเรื่องที่พรีเซ้นต์ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกสนุกสนานมากขึ้น เหมือนได้เปลี่ยนอารมณ์จากการนั่งฟังเฉย ๆ มาดูสิ่งที่มีการเคลื่อนไหว
  6. ถ้ามี おまけ แถมให้และเป็นอะไรที่ไม่เคยรู้มาก่อนและน่าสนใจ จะทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่น่าจดจำ และโดดเด่นขึ้นมา ทำให้การนำเสนอนั้นเป็นที่อะไรที่ 印象に残る มากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561

:+: 14 :+: 「うるじゃん」から学ぼう

สวัสดีค่ะ ครั้งนี้มาเขียนต่อตอนกลางวันล่ะค่ะ 55555

ไปต่อกับรายการที่ 2 ได้เลยค่ะ

ผู้พูดคือ สีเขียวจะเป็นรุ่นพี่เจ้าของเรื่องเล่าโดยตรง และสีฟ้าจะเป็นรุ่นน้องที่อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ไม่ได้เจอเหตุการณ์นั้นโดยตรงค่ะ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น : ในช่วงหนึ่งของการแสดงคอนเสิร์ต เป็นช่วงที่จะเริ่มด้วยการเล่นคีบอร์ดสด แล้วจะมี 2 คนออกมาร้องเพลงคลอดนตรี
แต่!!!
เมื่อเสียงคีบอร์ด(伊野尾)ดังขึ้น "เห้ย อะไรซักอย่างแปลก ๆ นะ" แฟน ๆ ในโดมเริ่มซุบซิบกัน
vocal (山田) คนแรกก็พยายามร้องจนจบท่อนของตน
vocal คนที่ 2 ซึ่งก็คือสีเขียว(薮) ร้องไปได้ครึ่งท่อน ก็ต้องขอให้เริ่มเล่นใหม่

เอ๊ะมันเกิดอะไรขึ้น

ไปฟังคุณสีฟ้ากับคุณสีเขียวกันค่ะ

สามารถฟังได้ที่ ウルジャン文字起こし -DearカウコンでのChikuTaku失敗話ー
และขอบคุณ文字化มา ณ ที่นี้ค่ะ

まぁ僕 
やぁーあれ、ビックリしましたよ本当に
ステージ上に居たんでね <そうだよね> 
色々わかるんですよぉ <はいはい>
まずあのぉ・・・Chikutakuの <うん> 歌始まりの前に <はいはい> 伊野ちゃんの <ありますね> ピアノの <はい> 前奏がある#$# <前奏があるね>
 あそこからもうおかしかったんです <w おかしかった> 
何が違うかってもぅ キーが <キーが> もう1オクターブ違うんだもん
ま、まぁあれは伊野尾のミスではなく <ではないんだよ 本当は>
まぁあの、ちょっとあの、ね、キーボードをあの <そうそう> 移動する時に 設定が変わっちゃった <そうそう> みたいんでなんか
1回なんかねぇ、電源抜いちゃうと設定が <そうそう> 最初に戻っちゃうみたいで、でぇ、もっかい差したらぁ、あの変えなきゃいけないんですけど、そこを‥忘れてたらしいんですよね?
もうw それを知らずにねぇ <そう>
俺と山田でぇ、「おい、伊野尾やったな 伊野尾やったなぁw 」ってw <ヤバいよね> 
ちゃ、俺はぁ、あの、ドラムでぇ <うん>  スタンバイ‥するじゃないですか <うんうんうん> だからぁ、いつも、山が歌い始めるじゃない?そっからスタンバイするんだけども その前からもうキーが違うってのも分ってぇ、あれ?これもしかして、山がぁ喉やられちゃったか何かでぇ、調子が悪いからぁ、急きょ、1オク‥ <ぁ低く> そう低くしたのかなって思ったの ぁっあぁ〜そう、ゃでもそんな事無いよなぁと思って
いや、俺は
でぇ伊野ちゃんも間違える訳ないんですよ だって鍵盤間違えないしぃ そう、だとしたら <何十回もやってるから> そうそう だとしたらぁ、あ、ピアノの設定がおかしいのかなぁ・・とも思ったの だからどっちかなぁー?と思ってたんだけどw 案の定w 
2人ともw <スタンバイして2人ともw> しかも山田が超テンパって「どうする? <w> どうする薮ちゃん?どうするこれ?やる?
(しかもさw) 
やっやるのこれ?」
しかもさ しかも結構離れてるもねw 山と薮ちゃんw 
ぁちゃう そん時はまだぁ <ぁまだ居たのか>
あのぉかん、前奏の途中から出てくる <ぁそっかそっか>
でぇ、自分のスタンバイ位置に着く <ぁそっか じゃまだ2人 <お互い> 一緒に居たんだw> 
でぇ、もう俺が「山田、しょうがない、やろう <w> しょうがない、やろう」<Show must go onですよ本当に>
でも、<そうだったんだ・・・> なんか最初山田も <うん> 頑張ってやってたの <やってたね>
でもちょいちょいズレるの <そーだねズレてたね>
でぇ、まぁ山田のとこが終わって <w>  俺も頑張ってやってたんだけど <やってた> やっぱちょくちょくズレるのよ <ちょいちょいね> <そう> <うん>
「変わらぁない〜♪」 <w> が本当なんだけど <そう>
「変わらぁないぃ〜」
<w> だいぶ <w> だいぶ渋くなっちゃって <メロウな>
俺らがだいぶ <w> 年配になった後にぃ、ちょっとアレンジして歌ってるみたいな感じになっちゃってぇ
さすがにーねぇ、ゃもう、そこまでは伊野尾のミスだと思ってたから俺 <そだよね> と山田も、やり直そっか <うんうん> つって、俺が止めて <うん> やり直そう、やり直そうつって
それさぁ、やり直そうってゆうのは、その、最初っから気づいてたの? ぁ最初っから言おうって言ってたの?
いや、もぅさすがにぃ、ぁお客さんもザワザワてるから <そうしてきたもんね> クスクスとか <してたねぇ>
<ねぇ> でぇー山田もちょっ、テレ笑いみたいになって <してたしてた> 俺も笑っちゃって <うん> 
で俺は伊野尾のミスだと思ってた <うん> からぁ「やり直そう <うんうん> 伊野ちゃん」つったら伊野尾が「違う!違うんだよぉ!」 <w> つってw 
実は伊野ちゃんのミスじゃなかったってゆう 伊野ちゃんもちょっと、テンパってたってゆう そのビックリする 自分が一番ビックリしてるって 「俺が一番ビックリしてるよ。だって、俺間違えてないんだもん!」って <w> 
<w> あれはヤバかった


เริ่มจากการเล่าเรื่องของคุณสีเขียว มีการใช้คำเลียนเสียง 
ザワザワ : เสียงพูดคุยของคนจำนวนมาก
クスクス : การหัวเราะแบบแอบ ๆ

ส่วนการfollowของคุณสีฟ้านั้น ส่วนตัวแล้วชอบ เพราะ

・สิ่งไหนที่พวกเขาเข้าใจกันอยู่แล้ว แต่คิดว่าผู้ฟัง(รายการ)ไม่เข้าก็จะพูดอธิบายเสริมให้ 
เช่น ตอนที่พูดถึงเรื่องจู่ ๆ คีย์ของคีบอร์ดเปลี่ยนไป ก็มาอธิบายเพิ่มให้ว่าทำไมมันถึงเปลี่ยน
・มีการบอกความคิดเห็นของตน และเล่าเรื่องในฝั่งของตนด้วย ทำให้ไม่รู้สึกว่าคุณสีเขียวพูดอยู่คนเดียวมากเกินไป เป็นการจัดรายการร่วมกันของทั้งสองคน
ในส่วนนี้จะคล้าย ๆ กับรายการที่แล้ว คือ นอกจากเจ้าของเรื่องจะเล่าเรื่องของตัวเองแล้ว อีกฝ่ายจะมีการเล่าเรื่องของตัวเองที่มีความเกี่ยวข้องกันด้วย
เช่น
คุณสีเขียวเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้ยินว่าคีย์เพี้ยน คุณสีฟ้าก็เล่าเหตุการณ์ของฝั่งตัวเองในขณะนั้นด้วยว่าเกิดอะไรและคิดอะไร
ของรายการHello! Drive!ที่เขียนไปคราวที่แล้ว เมื่อคนแรกเล่าเรื่องการถูกสะกดจิตของตน อีกฝ่ายก็แชร์ประสบการณ์ถูกสะกดจิตที่เคยโดนให้ฟังด้วย
เป็นต้น

และการตอบรับตอบโต้ในรายกายช่วงที่ตัดมานี้ คือคุณสีฟ้าจะมีการฟอลโล่สนับสนุนด้วยคำเดียวกับที่คุณสีเขียวพูดเยอะ เช่น
 あそこからもうおかしかったんです <w おかしかった>
前奏がある#$#<前奏があるね>
でもちょいちょいズレるの <そーだねズレてたね>
เป็นต้น
ทำให้รู้ว่านี่ก็เป็นวิธีการสื่อให้อีกฝ่ายทราบได้เช่นกันว่าเรากำลังฟังอยู่นะ
โดยการ ถ้าเรามีข้อมูล ความเข้าใจ หรือความเห็นตรงกับที่อีกฝ่ายพูด สามารถใช้การวิธีการนี้ได้



ส่วนเรื่องอื่น ๆ น่าจะเคยเขียนไปแล้ว
客に!นี่เป็นรายการที่ 4 ที่เขียนแล้วยังเจอเรื่องใหม่ ๆ ที่ได้เรียนรู้ววว
เพราะงั้นต้องฟังต่อไปเรื่อย ๆ 5555555
น่าจะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ อีกเยอะเลย ><

ส่วนไลฟ์ที่ต้องจัด ถ้าได้จัดแล้วต้องเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปลองใช้ค่ะ!!!
อยากรู้จังว่าจะออกมาเป็นยังไง >< 
がんばります!!!

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

:+: 13 :+: HELLO! DRIVE! で学ぼう!


สวัสดียามดึกของอีกวันค่ะ 55555
ดึกอีกแล้ว~ (.___.);;

มาในเรื่องคล้าย ๆ กับคราวที่แล้ว
เพิ่มเติมคือจะสังเกตหลาย ๆ อย่างเพิ่มขึ้นค่ะ

เพราะความจริงแล้ว เดือนเมษายน (เดือนนี้!!!) จะต้องไลฟ์ (talk show?) กับเพื่อน ๆ พี่ ๆ ในวง
เลยกำลังศึกษาอยู่ว่า流れของการดำเนินรายการ และการรับส่ง การfollowต่าง ๆ เวลาพูดคุยกันให้คนที่ดูอยู่อีกฝากของจอเข้าใจด้วยต้องทำยังไง

นอกจากจะมีประโยชน์ในการไลฟ์แล้ว
น่าจะทำให้การเล่าเรื่อง ๆ ต่าง ๆ smooth ขึ้น
อีกทั้งน่าจะช่วยทำให้การพูดคุยของตัวเองเป็นธรรมชาติขึ้นด้วยค่ะ

ครั้งนี้จะมาสังเกตจากรายการวิทยุอีกรายการกันค่ะ

รายการแรก เป็นบทสนทนาของผู้หญิง 3 คน มีรุ่นพี่ 1 คน (中島) และอีก 2 คน (大形、野中) เป็นเพื่อนกัน

รายการ HELLO! DRIVE! เทปที่ 123
本日は春分の日 <ふん〜> <春分の日> 祝日です <ふん〜>
春分の日といえば昼と夜の長さが同じ日になると言われたりしてますが厳密には昼の方には14分長い <へー> だって <へー> <そうなんだ> <気にしたことない> <wあたしも 祝日かー> <うーん うーん> 
そしてもう一つ催眠術の日でも <はーい> あるそうで <はい!> 催眠術かけられたことありますか?
え、あのーなんか動画を見て <ん ん> 催眠術かけれるっていうのが普通にユーチューブ <あー> とかにあがってるんですよ <え?> <やってるー> <うん>
それでメンバーで <そうそう> みんなで動画を見て <うんうん> かかる子もいれば、かからない子もみたいな感じ?
ちょっとはやったんですよ前 <そうなんですよ>
え?本当にかかんの?動画で?
はい!お家で全然その動画を見るだけでその時見たのは、あの、目が開かなくなっるやつ <そー> <ふえ〜>
私とかすごいかかりやすいですね <うんうん> 催眠術に <うんうん> もう全然目開かなくなっちゃって
ん、もう動画一個でかかるんですよ <へーすごっ>
だから、その動画でパーンとやったら、その催眠術が解けて開くようになったりとか <へー⁉>︎ して <面白いそれー> はーい そうなんです そうゆうのも <ほー> あったりして簡単にかけられちゃうんですよね <ねー> 催眠術って
なんかの脳の錯覚なんでしょうねでも <こわい> <うん> 私も催眠術をバースデーイベントで <うんうん> かけていただいて <ふん> もうすごいあのかかりやすいタイプなんで <w>
え、何してもらったの?そのバースデ、、、
パクシーを食べれるように <あ〜> してもらったんですね <なるほどね>
そ、パクシーが私の好きなカツ丼の味になるってゆう催眠術をやってもらって <あー> なりました <ほわーい>
カツ丼だった?<すーごーい>
カツ丼でした <ひえー> ん〜すごかった <ふえー?>
不思議だよね
不思議です
私もかけてもらった時にすごい不思議な感覚だった <うーん> な、何してもらったのよ?なんか、あ、そう、男の人を好きになるみたいな <うんうんうんうんうん> 感じ <へー?> でかけてもらって <へー> 本当にドキドキしてくんの <えー?> <へー?>
だから、胸がドキド#@*%って <w> いっててみたいな、かっこいいみたいな <うっそー> 感じになって <すごい>
あの 解かれた瞬間に え?なんだったんだろう今のは <w> <そー> 
けど記憶はあるんだよそのかかってた <うんうん> <ありますね>
そう、ドキドキしてたみたいな <はい>
なんかすごい不思議な気持ちに <じえ〜> なった <えー> 
絶対かかんないタイプだと思います大形 <ああ〜> そんな気がする
かかってなかったもんね動画のも
かからなかったです動画見ても全然
でもベースがうそでしょうって思ってたらかかんないらしいよ <あー>
ちゃんと <ん、そうだ> うん、なんか信じて <はい> うん、なんか身を呆気ないと <へー> かかんないみたい
絶対かかんないなー
<そうですねー>
<w>
<面白いー>
<w>

ฟังจบแล้วอยากไปเรียนรู้เรื่องการสะกดจิตเลยค่ะ ว่าเค้าทำให้ผักชีมีรสชาติเป็นคัตสึด้งได้ยังไง 55555

・สังเกตได้ว่าในรายการนี้เป็นการเล่าเรื่องของกันและกัน ดังนั้น あいづち และการตอบโต้จะถี่มาก ๆ เลยค่ะ มีทุกประโยคบอกเล่าเลย

・การตอบโต้หรือแสดงあいづちออกมา ตามบทสนทนาข้างต้น ไม่ได้รอให้อีกฝ่ายเล่าจบเป็นประโยคก่อนแล้วจึงค่อยแสดงการตอบรับ
เช่น
絶対かかんないなー <そうですねー> <w> <面白いー> <w>
เสมอไป
แต่ว่ามักจะเป็นแบบ...รู้สึกอะไรตอนไหนก็แสดงออกไปเลยมากกว่า
เช่น
それでメンバーで <そうそう> みんなで動画を見て <うんうん> かかる子もいれば、かからない子もみたいな感じ
สีฟ้ากับสีม่วงเป็นเพื่อนกันอยู่แล้ว พอสีฟ้าพูดขึ้นมาแค่ตอนต้น แล้วสีม่วงเข้าใจได้ทันที ก็ตอบรับสนับสนุนออกไปเลย กลางประโยค
ส่วนสีน้ำเงิน เป็นผู้รับข้อมูลใหม่ทั้งหมด พอเริ่มจับข้อมูลได้ ก็แสดงการตอบรับออกไปบ้าง กลางประโยคเลยเช่นกัน

เป็นเหมือนการสนทนาทั่วไป ที่เราเองก็ไม่รู้แน่ชัดว่าอีกฝ่ายจะพูดอะไร จะพูดจบประโยคตอนไหน ดังนั้นเมื่อต้องการแสดงการตอบรับตอนไหนก็แสดง あいづち ออกไปเลย

・และอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นรายการของวัยรุ่นที่ไม่ได้เป็นทางการมาก คำที่ใช้ตอบกลับไปจึงมีหลายคำที่เป็นคำแปลก ๆ เช่น ひえー、ほわーい、じえー เป็นต้น ถึงจะเป็นที่เพิ่งเคยได้ยิน แต่หลาย ๆ คำ จะเดาความหมายได้จากน้ำเสียง

ตัวหนาที่ทำไว้คือสิ่งที่สังเกตได้จากการฟังในครั้งนี้ คือ การตอบกลับสำนวนตอบรับที่อีกฝ่ายพูดมาอีกที
นอกจากคนฟังจะเป็นผู้แสดงการตอบรับอยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้รู้ว่าฟังอยู่แล้ว
ผู้พูดเอง ก่อนจะพูดประโยคถัดไป ในบางครั้งก็จะตอบรับการตอบรับของผู้ฟังก่อนแล้วค่อยเข้าเรื่องต่อ
เช่น
けど記憶はあるんだよそのかかってた <うんうん> <ありますね> そう、ドキドキしてたみたいな 
หลังจากที่สีม่วงสนับสนุนประโยคที่สีน้ำเงินเล่าแล้ว ก่อนก็จะเล่าต่อ สีน้ำเงินก็ตอบรับว่ารับรู้การตอบรับของสีม่วงก่อน

เพราะว่าเป็นการสนทนาของทั้งสองฝ่าย(ผู้พูดและผู้ฟัง) ดังนั้นจึงไม่ใช่แค่ผู้พูดมีหน้าที่พูด ผู้ฟังมีหน้าที่ตอบรับ แต่ทั้งสองฝ่ายจะทำหน้าที่ทั้งสองอย่าง ทั้งเป็นผู้พูดและผู้ตอบรับ บทสนทนาจึงจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และให้ความรู้สึกว่ากำลังคุย"กัน"จริง ๆ

+++คำตอบโต้ใหม่+++
ひえー ใช้แสดงว่าตกใจ แบบตอนนี้ตกใจเลย ฟีลตกใจแบบเข้าบ้านผีสิงแล้วจู่ ๆ XXก็โผล่มา
じえー ใช้แสดงว่าการรับรู้+เสียว ๆ แปลก ๆ
ほわーい ใช้แสดงว่าตกใจแบบwow

**ทั้งนี้ทั้งนั้นน่าจะขึ้นอยู่กับการใช้เสียงของแต่ละครั้งด้วย**

เย่ จบแล้วรายการนึง ยังมีอีกรายการนึงที่ฟังบ่อย ๆ น่าจะเอามาใช้ศึกษาได้เหมือนกัน
แต่ตอนนี้ไม่ไหวแล้วววว ไว้มาต่อนะคะ ><zzZZZ
ฝันดีค่าาา

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

:+: 12 :+: ラジオを聴こう!

การเป็นผู้ฟังที่ดี!!!
นอกจากการตั้งใจฟังแล้ว
เราก็ควรจะมีสารที่ส่งกลับไปให้ผู้พูดฟังด้วยว่า ฟังอยู่นะ
หรือที่เรียกว่า ควรมี あいづち

โดยคราวนี้เราจะลองมาสังเกตจากรายการวิทยุ「安住紳一郎の日曜天国」ของญี่ปุ่นกัน
ผู้ชายคือคนดำเนินรายการหลัก จะเป็นคนอ่านจดหมายจากทางบ้าน และมีการแสดงความเห็นไปด้วย
ส่วนผู้หญิงอีกคน จะเป็นเหมือนผู้ช่วย ช่วยฟัง เป็นผู้ตอบรับบทสนทนาจากอีกฝ่าย และเป็นリアクション担当

ดังนั้น เราจะมาสังเกตあいづちและการตอบรับของผู้หญิงกันค่ะ

・เริ่มจากตอนเลย ผู้ชายจะอ่านชื่อผู้ส่งจดหมายมาแล้วก็ขอบคุณที่ส่งมา ผู้หญิงก็จะฟอลโลว์ 「ありがとうございます」หลังจากที่ผู้ชายพูดแล้ว แล้วผู้ชายจึงค่อยเริ่มอ่านเนื้อความ

หลังจากนั้นก็จะมีการส่งเสียงออกมาเรื่อย ๆ ตามเรื่องราวที่ได้ฟัง
ผู้หญิงคนนี้แทบจะมีบทบาทในทุกประโยคที่ได้ฟัง อย่างน้อยก็ส่งเสียงหัวเราะ

ในช่วงแรกที่เป็นการอ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นของผู้ชมทางบ้าน
จะมีการตอบรับที่ไม่มากนัก จะมีหัวเราะบ้าง หรือตอบรับแสดงรับรู้เช่น はい ほー あー へーซะส่วนใหญ่
แต่ในบางครั้งก็มีคำแสดงความคิดเห็นของตัวออกมาบ้าง เช่น かっこいい

แต่เมื่อเป็นตอนที่เป็นความคิดเห็นที่ผู้ชายเสริมขึ้นมานอกจากเนื้อความในจดหมาย ก็จะมีการตอบโต้กลับไปมาขึ้น เหมือนพูดคุยกับฝ่ายชายอยู่ เพื่อให้รายการสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไหลลื่นนน



ขอยกตัวอย่างจากเทปที่ออกอากาศวันที่ 24 มิถุนายน 2012

เมื่อเริ่มเข้าเรื่อง...
十数年前に幼稚園の先生をしている友人の結婚披露宴に出席した時のことです、〈はい〉友 人が勤めている、幼稚園の、園長先生のスピーチを、出席者全員、この人間違えている、と 思いながら聞いていました、それは友人は幼稚園に 10 年近く勤めていたのでベテランであ ることを強調して、彼女は子供の世話をするプロ、子育てのプロと言いたいところを園長先 生は相当緊張していたらしく、スピーチで、子育てを子作りとずーっと言い〈{笑}〉間違え ていました、新婦の、××さんは、子作りのプロでありますから、〈{笑}〉いや、子作りな ら、〈{笑}〉××さんに任せれば、〈{笑}〉心配ありません、さらには、子作りのことは、私 がしっかりと教え込んでいますので、〈{笑}〉と、〈{笑}〉とんでもなく誤解されそうなフレ ーズのオンパレード、〈{笑}〉結婚披露宴の独特の雰囲気の中で、もちろん出席者からは、 少しも笑いは起こりません、園長先生は、そのまま子作りを連発し続け、〈{笑}〉スピーチ を終え普通に席に戻られ、おそらく隣に座る奥さんから間違えを指摘されたのでしょう、 〈あー〉披露宴が終わるまで項垂れてため息ばかりついていました、〈あー〉披露宴では、 言い間違えたとしても、決して下ネタ寄りにならないように注意したい、と思った話です、
สังเกตได้ว่าการตอบกลับไปของผู้หญิงมีไม่มากนัก แต่มีเรื่อย ๆ ตามอารมณ์ของเนื้อเรื่องที่ได้ฟัง

〈へー〉ふーん、〈男性の園長先生だったんですねー〉そうですね、〈んー〉ま、〈じゃなお さら微妙な空気に{笑いながら}〉んー、〈はいー〉ま、非常に冷え、た感じなるでしょうね ー、〈んー〉そうですよねー、結婚披露宴ね、〈えー〉そうスピーチ間違うと大きいですから ね、〈ねー〉
ส่วนตอนนี้มีการตอบโต้มากขึ้น  มีตั้งแต่ あいづち ง่าย ๆ หรือแม้แต่แสดงความเห็นของตัวเองเป็นประโยค



และอีกตัวอย่างนึงจากเทปของวันที่ 30 มิถุนายน 2013

私の父の弟、××おじさんの話です、〈はい〉お父さんの兄弟、〈うんうん〉××おじさん、 〈うんうん〉××おじさんの娘さんの披露宴でのこと、〈はい〉結婚式が終わり、緊張の糸 がぷっつりと切れた、××おじさんは、〈うん〉披露宴が始まると、周りから勧められるが ままグラスを開け続け、披露宴開始から 30 分も経たないうちにべろんべろんに酔っぱらっ てしまいました、〈えー〉こりゃやばいな絶対何かしでかすな、と、親戚一同がざわつき始 めたとき、〈うん〉××おじさんはいきなりテーブルに飾ってある花を食べ始めました、 〈(笑)〉青ざめながら止める奥さん、を振り払い、花わ[花は/花輪]おいしいんだぞー、 〈{笑}〉菊だってバラだって食べられるんだぞーといいながらむしゃむしゃとバンジーを 食べる××おじさん、〈{笑}〉テーブルの花を半分くらい食べたところで、ついにブチ切れ た××さんの奥さんに髪の毛を引っ張られながら退場〈{笑}〉させられてしまいました、し ばらくして、再入場したころには、何とか周りに迷惑をかけないくらいに、おとなしくなっ ていましたが〈{笑}〉、結局最後の最後まで酔いが醒めず、娘さんからの花束、と、手紙贈 呈の時に、娘からもらった大切な花束を食べようとしている〈{笑}〉そんな××おじさんと、 鬼の形相で{笑いながら}旦那を睨みつけるお嫁さん、××さんのお嫁さんがスポットライ トで照らされた瞬間は横隔膜がちぎれるかと〈{笑}〉思うくらい笑いました、もう 10 年く らい前の出来事ですが{笑いながら}、〈{笑}〉今でも親戚が集まると、話のタネになってい ます、
ตอนฟังเนื้อความจากจดหมาย นอกจากเสียงหัวเราะแล้ว การตอบรับแบบอื่น ๆ ยังไม่เยอะเท่าไหร่ เช่นกัน

〈{笑}〉{笑}ねー、〈ねー〉嫁に行く、娘、〈ん〉さんから〈ねー〉、花束と手紙贈呈 の時に{笑いながら}、〈{笑}〉一番ね、こう何かこう〈ねー〉、感情が、〈へー〉高ぶる、見 てる方もね、〈ねー〉感極まるようなそんなシーンですけど、もらったお父さんが〈{笑}〉 その花を食べようとしているってゆう{笑いながら}、〈{笑}、ま泣き笑いってゆうかもう笑 いですかね〉んー、すばらしいよねー〈ねー、ほんと〉、{笑}もう、〈いーなー〉えさを与 えられた動物のように〈{笑}〉、お父さんありがとう〈まただー〉ってねー、娘さんから〈花 だー〉もらって花もらってもう〈{笑}〉、食べようと{笑いながら}〈{笑}〉、ひどいね、〈{笑}〉 ほんとにひどいと思う、〈{笑}〉これは嫌われるわ、〈{笑}〉{笑}
แต่เมื่อเป็นช่วงที่ผู้ชายแสดงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่าน ผู้หญิงที่มีการตอบรับตอบโต้มากขึ้น ดังเช่นตัวอย่างแรก


การตอบรับตามความรู้สึกต่าง ๆ
・เมื่อรู้สึกว่าเรื่องตลก หรือต้องการขำ ก็จะตอบรับโดยการหัวเราะเหมือนที่เราคุยกับเพื่อนทั่ว ๆ ไป หรือ 笑
・เมื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าเรารับรู้แล้ว รับทราบข้อมูลแล้ว : はい、ん、えー、うんうん
・เมื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจในสิ่งที่เขาบอกแล้ว : あー
・เมื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าเราแปลกใจในเรื่องนั้น ๆ : へー
・เมื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า "เป็นแบบนั้นเลยเหรอ" : ほー
・เมื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าเราเห็นด้วยกับอีกฝ่าย : ねー

และยังมีคำอื่น ๆ อีกมากมาย
ซึ่งเรายังคงต้องศึกษากันต่อไป
เพื่อจะได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นได้ถูกต้องและเป็นธรรมชาติมากขึ้น

:+: 11 :+: Storytelling

สวัสดียามดึกค่าาา
...ดึกทุกรอบ เหมือนไม่ดึกอารมณ์อยากเขียนไม่มา 5555
วันนี้จะพูดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนเรื่องการเล่าเรื่องค่ะ

สิ่งสำคัญที่ได้จากเรียนรู้ในครั้งนี้ คือ การทำให้คนฟังสนุกไปกับเรื่องที่เราเล่า

เอ๊ะ แต่จะทำได้ยังไง???

ลองมาสังเกตจากตัวอย่างการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นกันค่ะ

ก่อนอื่นเลย เริ่มจากวิธีการเล่าเรื่อง

----ต้องเล่าให้เป็นลำดับค่ะ
เพื่อให้คนฟังตามเรื่องเล่าของเราได้ทัน เหมือนเค้าเห็นเหตุการณ์นั้นไปกับเรานะคะ

----แล้วก็เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นเราต้องกำหนด視点หรือมุมมองของผู้เล่าให้ชัดเจนค่ะ
เช่น
あたしがね、ホテルにいた時にロビーソファーにこう座ってたんだけど」
แบบนี้แปลว่าผู้เล่าเรื่องคือตัวเอกของเรื่อง
ขณะเล่าเรื่อง ควรทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าอยู่ข้าง ๆ ตัวเอกตัวนั้นตลอดเรื่อง
ทำได้โดยการ เมื่อมีตัวละครอื่นเข้ามา หรือออกห่างตัวเองให้ใช้ ~てくる หรือ ~ていった เป็นการบอกการเคลื่อนไหวของกริยา เช่น
「目が合った瞬間ね、にこーって顔になって寄ってくるの」

---และอาจจะเพิ่มคำเลียนเสียงเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
เช่น
แทนที่จะบอกว่า เค้าหัวล้าน หรือไม่มีผม ก็อธิบายว่าหัวมันเงาแบบ...「そしたら、彼の頭も、つるつるぴかぴかだったの」แทนจะเห็นภาพมากกว่าใช่มั้ยล่ะ

พอเราเล่าไปเรื่อย ๆ มีเกริ่นเรื่อง เนื้อเรื่อง ไปเรื่อง ๆ ก็จะมาถึงจุคพีคหรือจุดไคลแมกซ์ของเรื่อง
อันนี่เป็นจุดขายละ อาจจะเน้นตรงนี้ให้ดูเด่น หรือดูตื่นตาตื่นใจต่างจากเนื้อเรื่องจุดอื่น ๆ

ทำได้โดย...
----ใช้น้ำเสียงให้ดูตื่นเต้น เหมือนเวลาดูหนัง ฉากตื่นเต้นก็จะมีดนตรีเร็ว ๆ ฟังดูน่าตื่นเต้นประกอบ แต่ตอนเล่าเรื่องจะให้มาเปิดเสียงประกอบก็ไม่ใช่ ก็เลยใช้เสียงของตัวเองนี่แหละทำให้ตื่นเต้นแทน
อาจจะเล่าด้วยน้ำเสียงปกติ มีปรับตามอารมณ์เนื้อเรื่อง
เช่น ช่วงที่เศร้า ก็ทำเสียงนิ่ง ๆ หรือเสียงเศร้า ช่วงที่ร่าเริงก็เล่าด้วยน้ำเสียงสดใจ
และเมื่อมาถึงจุดพีค ก็เน้นเสียงให้ดูมีพลัง หรืออาจจะพูดด้วยเสียงที่ดังกว่าปกติเล็กน้อย

และนอกจากน้ำเสียงที่ช่วยให้คนฟังสนใจเรื่องของเราในจุดที่เราต้องการเน้นแล้ว
----อาจจะมีการถามกลับไปยังคนฟัง หรือที่เรียกว่า metalanguage เพื่อให้คนดูมีการคิดถึงเรื่องที่เล่าและเกิดความสงสัยให้เหตุการณ์ต่อไป
เช่น
「彼、そこで何と言ったと思う?ニコット笑って…そんなこと、気にしなくていいよ、って言ったのよ。」
「それで、次、彼、何したと思う? 彼、自分の髪の毛に手を持っていって、つるって、髪の毛を取ったのよ。」
***สังเกตได้ว่ามักจะเป็นคำถามเชิงว่า คุณคิดว่า....? หรือ ~と思う?

แล้วลองมาสังเกตคำต่าง ๆ ที่คนญี่ปุ่นกันเถอะ

เริ่มจากตอนจะเริ่มเล่า อาจจะมีการใช้คำเพื่อดึงความสนใจของผู้ฟังก่อน
เช่น
+++ ねえ、ねえ、聞いてよ。
+++ あのさ
+++ あのね
+++ えっとね
เป็นต้น


คำลงท้ายที่น่าสนใจ มีดังนี้

+++ คำว่า ね ที่ปกติจะใช้ลงท้ายประโยคเมื่อผู้พูดและฝ่ายตรงข้ามเห็นพ้องตรงกัน
ในการเล่าเรื่อง มีการใช้ ね เหมือนเป็นการตัดประโยคเป็นช่วง ๆ เพื่อให้คนฟังตามเรื่องที่เล่าทัน
เช่น
「おじさんが、新聞こう読んでたんだけど、まあちょっと同じソファーで、広いソファー、いたんだけど。」

+++ คำว่า の ลงท้ายประโยคเพื่อบอกเล่าแบบเน้น
เช่น
「でも、そのおかげで、すごい素敵な彼氏ができた。」
「いつもだったら隠してあった昔のアルバムの写真を、そのまま机の上に出しちゃって、彼がそれを見ちゃった。」

+++ การลงท้ายประโยคด้วย ~てしまいました、~てしまった、~ちゃった・じゃった
เป็นการเพิ่มฟีลลิ่งในการเล่าเรื่อง คล้าย ๆ กับว่า "ทำ...ไปซะแล้ว" จะอินเนอร์แฝงอยู่มากกว่า "ทำ...แล้ว"
ตัวอย่างประโยคก็เช่น
「で、ちょっとよけいに怒っちゃったんだけど、…」


และคำอื่น ๆ ที่ใช้ในประโยคที่ดูน่าสนใจก็มี...

+++ なんと ที่เอาไว้ใช้บอกเหตุการณ์ที่คนฟังไม่น่าจะคาดการณ์มาก่อน
เช่น
「その彼氏、おもむろに頭に、手をやってさ、なんと、髪の毛をとっちゃったんだよ」

+++ つまり ใช้เมื่อต้องการเล่าเรื่องที่พูดไปแล้วซ้ำอีกครั้ง อาจจะเป็นการอธิบายให้ง่ายขึ้น เมื่อเห็นผู้ฟังทำหน้าไม่เข้าใจ
เช่น
คู่รักน่าตาดีคู่หนึ่ง ที่ฝ่ายหญิงปิดบังเรื่อง「本当の顔があって、その顔はすご~いブスなの。つまり、整形して、すごい美人になったのね。」ตนสวยเพราะผ่านมีดหมอมา แต่วันนึงความแตก แต่แฟนหนุ่มหน้าตาดีของเธอก็บอกว่าไม่เป็นไรหรอก พร้อมกับดึงวิกผมของตนออก「だから、彼も、つまり、整形みたいなものよ。」สรุปแล้วหญิงสวยเพราะศัลย์ชายหล่อเพราะวิก...

และสุดท้ายยยย
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการที่ได้เล่าเรื่องคู่กับเพื่อนในห้องเรียนคือ...
ตัวละคร... การเรียกตัวละครควรแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ถ้ามีผู้ชาย 2 คน อาจจะเป็น 男の人 กับ おじさん ไปเลย
เพราะถ้าเป็น男の人ทั้ง 2 คน แม้ว่าจะอธิบายว่า ชายคนที่ดื่มกาแฟ กับ ชายคนที่อ่านหนังสือพิมพ์ อาจจะยาวไป แล้วพอเล่าไปเรื่อย ๆ เมื่อมีการเปลี่ยนกิริยาการกระทำอาจจะทำให้งงได้
"เอ๊ะ เมื่อกี้พูดถึงชายคนไหนนะ???"

ก็ประมาณนี้
เรื่องการใช้คำอาจจะใช้วิธีการท่องจำเอาได้
แต่การใช้น้ำเสียงขึ้นลง ใส่ฟีลลิ่งลงไปเพื่อให้คนฟังอินนี่...น่าจะต้องฝึกอีกนานเลย...
がんばろ!!!